ปลาคาร์ฟปลาคาร์ฟ-ปลาคราฟ สะกดยังไง

ปลาคาร์ฟ หรือปลาคราฟ ถ้าทุกคนเคยเห็นบทความ ข่าว หรือวีดีโอเกี่ยวกับปลาคาร์ฟ จะสังเกตว่ามีการเขียนอยู่ 2 แบบที่ใช้กันมากที่สุด นั่นคือ คราฟ และ คาร์ฟ แต่จริงๆแล้วน้องต้องเขียนว่าอะไรกันแน่ วันนี้ผมเอาเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากครับ

หลังจากที่ผมไปหาข้อมูล ปรากฎว่าคำที่ถูกคือคำว่า “ปลาคาร์ป”  (อ้าวว) เพราะเป็นคำทับศัพท์มาจากชื่อภาษาอังกฤษว่า Crap สรุปว่าเราใช้ผิดกันมาตลอดซะงั้น แต่ทุกคนก็ใช้เรียกกันอย่างติดปากจนทุกวันนี้

 

ตัวอย่างการสะกด ปลาคาร์ฟ 1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างการสะกด ปลาคาร์ฟ 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนคนญี่ปุ่นจะนิยมเรียกว่า Nishikigoi ที่มาจากคำว่า Nishiki หมายถึง ผ้าไหมทอจากอิเดียที่มีสีสันสวยงาม มีหลากสี และมีราคาแพง ชาวญี่ปุ่นจึงนำมาตั้งชื่อเพราะมีลักษณะที่คล้ายกับปลาคาร์ฟ

ปลาคาร์ฟ อร่อยมั้ย ?

ปลาคาร์ฟจัดอยู่ในประเภทกลุ่มปลาตะเพียน ในอดีตนิยมเลี้ยงไว้เป็นอาหารโดยเฉพาะชาวจีน เพราะเห็นเค้าว่ามีเนื้อนุ่ม รสหวาน อร่อย จริงมั้ยไม่รู้ ผมไม่เคยกิน 555

สำหรับใครที่อยากลองนะครับ ขอแนะนำว่าแยกปลาคาร์ฟออกจากบ่อเลี้ยงเพื่อลดความคาว และปรุกสุกทุกครั้งก่อนรับประทานเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ส่วนสำหรับผมแล้วกินปลาตะเพียนน่าจะประหยัดกว่า (เยอะ) เลยครับ

แล้วทำไมถึงปลาคาร์ฟถึงรอดจากการโดนกิน 

ชาวญี่ปุ่นก็เป็นชาติหนึ่งที่เคยเลี้ยงปลาคาร์ฟไว้เพื่อเป็นอาหารในฤดูหนาว ซึ่งตอนนั้นเรียกว่า Koi หรือโค่ย แต่วันหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ขึ้นโดยบังเอิญ เนื่องจากการผสมพันธุ์กันภายในสายเลือด ทำให้กำเนิดปลาคาร์ปที่มีสีขาวและสีแดงตลอดทั้งตัวขึ้นมา นั่นคือ “โคฮาคุ” ในปัจจุบัน

เริ่มต้นค่านิยมการเลี้ยง ปลาคาร์ฟ

ด้วยความว้าวในความสวยงามแปลกตา ชาวญี่ปุ่นจึงตัดสินใจว่า ถ้าสวยอย่างเนี้ย กินไม่ลงละ เหมาะกับการเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามมากกว่า จึงพัฒนาผสมสายพันธุ์มาเรื่อยๆ จนทำให้ปลาคาร์ปมีสีสันและลวดลายต่างกันไปกว่าร้อยรูปแบบ แต่ถ้าจะให้พูดถึงเฉพาะสายพันธุ์ที่คนนิยมละก็ จะเหลือเพียงไม่กี่ 10 สายพันธุ์เท่านั้นเอง โดยคุณสามารถอ่านบทความที่ผมเขียนไว้เพิ่มได้เลยครับ

รู้จัก “10 สายพันธุ์ปลาคราฟ” ที่นิยมเลี้ยงมากที่สุด และ 10 พันธุ์ปลาคราฟ “แปลก” ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

 

ตัวอย่างสายพันธฺุ์ ปลาคาร์ฟ

ตัวอย่างส่วนหนึ่งของสายพันธุ์ ปลาคาร์ฟ
อ้างอิงรูปจาก: https://www.kfin.in/types-of-koi-varieties/

 

หลังจากนั้นผ่านมาหลายร้อยปี ความนิยมในการเลี้ยงปลาคาร์ฟเพิ่มขึ้น มีการประกวดมากมาย ถึงขั้นเป็นเทศกาลประจำปี เรียกว่าวันเด็กผู้ชาย โดยปักธงรูปปลาคาร์ฟ ไว้หน้าบ้าน โดยมีความเชื่อว่าอยากให้ลูกชายเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคและประสบความสำเร็จได้

แล้วด้วยความมีเสน่ห์และความสวยงามของปลาคาร์ฟ ในปี พ.ศ. 2493 ไทยได้เริ่มนำเข้าจากญี่ปุ่น โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เพื่อเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และให้ชื่อว่า ปลาอัมรินทร์ หรือ ปลาไนทรงเครื่อง

ปลาคาร์ฟ กับ ปลาไน เป็นญาติกัน ?

ปลาไนที่อยู่ในตระกูล Cyprinus ถือเป็นพันธุ์ต้นแบบปลาคาร์พ มีแหล่งที่อยู่และกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง สามารถออกไข่รอบละหลายแสนฟอง ทำให้ปลาพันธุ์นี้มีอยู่ทั่วมุมโลก และก็ยังมีสายพันธุ์แยกย่อยไปอีก ได้แก่

  • ปลาคาร์ฟยุโรป (Cyprinus carpio carpio) พบได้ในแถบยุโรป
  • ปลาคาร์ฟเดนิส (Cyprinus carpio yilmaz) พบได้ในแถบออสเตรเลียและตุรกี
  • ปลาคาร์ฟอาโม (Cyprinus carpio haematopterus) พบได้ในแถบจีน เกาหลี ญี่ปุ่น

ซึ่งปลาคาร์ฟอาโมนี่แหละครับ คือสายพันธุ์ที่ต้นแบบปลาคาร์ฟที่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามกันทุกวันนี้

รางวัลประกวดปลาคาร์ฟ

 

ถึงจะไม่การันตีความอร่อย แต่ความสวยมั่นใจได้แน่นอน

อ่านมาถึงตรงนี้ ไม่รู้ว่ามีใครเริ่มสนใจอยากลองกินปลาคาร์ฟหรือยัง ? (อย่าน้าา น้องออกจะน่ารัก) :ซึ่งถ้าถามแหล่งขาย ผมอาจจะไม่มีคำแนะนำเท่าไหร่ แต่ถ้าอยากได้ ปลาคาร์ฟระดับสุดยอด ผมมีแน่นอน เพราะที่ Surat Fish Farm เรายืนหนึ่งเรื่องความสวยของปลา การันตีด้วยรางวัลประกวดกว่า 100 ใบ ทั้งในไทยและญี่ปุ่น โดยผมตั้งใจคัดสรรด้วยตัวเองถึงญี่ปุ่นมาหลายฟาร์มแล้ว มั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้ปลาคาร์พที่ดี คุณภาพระดับ Grand Champion

ปัจจุบันฟาร์มมีลูกค้ามากมายจากภายในและประเทศเพื่อนบ้าน ทุกท่านสามารถลองเข้ามาเยี่ยมชมปลาสวยๆได้ทุกวันครับ พร้อมให้คำแนะนำสำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยเลี้ยงมาก่อน

รอให้บริการทุกท่านอยู่นะครับ >_<

 

Surat Fish Farm

ที่อยู่

82 ถนนโฉลกรัฐ ตำบลบางกุ้ง

อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

84000

Line: @suratfishfarm

กำหนดเส้นทางได้ >> ที่นี่

 

แผนที่ Surat Fish Farm

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Post comment